สร้างเว็บEngine by iGetWeb.com

Sewage Pump Control - ตู้คอนโทรลควบคุมระบบน้ำเสีย

Sewage Pump Control - ตู้คอนโทรลควบคุมระบบน้ำเสีย

Sewage Pump Control - ระบบควบคุมน้ำเสีย,ระบายน้ำออก

Sewage Pump เป็นส่วนหนึ่งของการควบคุมในระบบน้ำเสีย คือการระบายน้ำเสีย หรือน้ำที่ไม่ต้องการ เพื่อระบายออกจากระบบ โดยใช้การควบคุมอาศัยความแตกต่างของระดับน้ำนำมาสั่งงาน ใช้ลูกลอยเข้ามาควบคุมการทำงานของปั๊มน้ำ โดยใช้ลูกลอย (Float Switch)

 

สถานที่บางแห่งอาจจะใช้ก้านอิเล็คโตรด (Electrode Level) นำมาควบคุมแทนลูกลอยก็ได้ เพราะก้านอิเล็คโตรดจะมีความทนทานมากกว่าลูกลอย การซ่อมบำรุงน้อยกว่า ซึ่งถ้าหากว่าสภาวะน้ำเหมาะสม เป็นน้ำที่ไม่สกปรกมาก เช่นน้ำระบายรางน้ำฝน พื้นที่น้ำเอ่อท่วมจะใช้ได้

หากน้ำมีความสกปรกมาก เช่น น้ำเสียในโรงงานอุตสาหกรรม ลักษณะน้ำแบบนั้นจะใช้ก้านอิเล็คโตรดไม่ได้เพราะก้านอิเล็คโตรด ที่ถูกจ่ายกระแสไฟฟ้ามานั้น กระแสแรงดันต่ำมาก ราวๆ 7-15 Volt น้ำเสียจะมีค่าความต้านทานไฟฟ้าสูง จึงไม่สามารถส่งสัญญาณไฟฟ้า ผ่านก้านอิเล็คโตรดได้

ระบบควบคุมน้ำเสีย Sewage Pump ที่นิยมใช้ส่วนใหญ่ ก็จะมี 

Sewage Pump 1 Pump  2 Floats - ประกอบด้วยลูกลอย จำนวนสองลูก เพื่อทำสอง 2 ระดับ ลูกล่างสั่งหยุดการทำงาน (Stop) ลูกบนเริ่มการทำงาน (Start Operate)


Sewage Pump 2 Pump  3  Floats - ประกิบด้วยลูกลอยสามลูก มีอยู่ 3 ระดับ ลูกล่างสั่งหยุดการทำงาน (Stop) ลูกกลางจะเริ่มการทำงาน(Start 1 pump Opearte) พร้อมสลับตามรอบการทำงานนั้นๆ เมื่อลูกลอยล่างสุด(ลูกที่1) ตก ส่วนลูกบนสุดจะสั่งทำงานให้ปั๊มน้ำทำงาน พร้อมกันทั้ง 2 ตัว


Sewage Pump 2 Pump 4 Floats - ลูกลอยมีอยู่ 4 ระดับ การทำงานจะเหมือนกับ 3 ลูกลอย แต่ที่เพิ่มมาเป็น 4 ลูกลอย ซึ่งเป็นลูกบนสุดนั้น จะนำมาเป็นสัญญาณน้ำล้น High Alarm Buzzer หรือ Siren Warning Light

หากน้ำท่วมถึงระดับลูกลอยที่ 4 นั้น เพื่อแสดงว่า ระดับน้ำนั้นมีปริมาณมากกว่าที่ปั๊มสูบน้ำจะสามารถสูบออกไปได้  หรือไม่ก็เป็นการเตือนว่า ระบบอาจจะมีปัญหาไม่ว่าจะเป็นที่ตัวของปั๊มน้ำเอง เช่นการสั่งทริปของโอเวอร์โหลด (Over Current) หรือระบบท่อที่มีปัญหาเช่น หลุด , รั่ว , แตก ไม่สามารถระบายน้ำออกได้ ต้องทำการตรวจเช็ค และแก้ไขปัญหา

ลักษณะปั๊มจุ่มที่นิยมใช้



Tags : sewage pump Sump Submersible น้ำเสีย Drain

view